เสาเข็มเจาะระบบแห้ง

ทาง PPB รับทำเสาเข็มเจาะระบบแห้ง Dry Process ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ขนาด 0.35 cm., 0.40 cm., 0.50 cm. และ 0.60 cm.
โดยรับเหมาทั้งค่าของและค่าแรง และเฉพาะค่าแรงอย่างเดียว โดยความลึกของเสาเข็มขึ้นอยู่กับระดับชั้นทรายในแต่ละพี้นที่
โดยส่วนใหญ่เจาะความลึกไม่เกิน 18 ม. ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและเขตพื้นที่ใกล้เคียง (จังหวดพังงา กระบี่ ตรัง สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช)
ซึ่งทางเรายินดีให้ข้อมูลและรับปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับงานเสาเข็มเจาะ และรับประเมินราคางานเสาเข็มเจาะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

 

*น้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มเจาะขึ้นกับความยาวของเสาเข็มและสภาพชั้นดินบริเวณที่ก่อสร้าง
ซึ่งความยาวเสาเข็มและน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย สามารถกำหนดได้จากผลการเจาะสำรวจดิน

 

 

 

 

 

 

ในการทำเสาเข็มเจาะชนิดนี้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ค่อนข้างเล็กไม่ยุ่งยาก เคลื่อนย้ายสะดวก ไม่ต้องการบริเวณทำงานมากนัก อุปกรณ์หลักประกอบด้วย
1. ขาหยั่ง 3 ขา (TRIPOD) ซึ่งปรับสูง – ต่ำ, กว้างแคบได้
2. ปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing)
3. กระเช้าตักดิน (Bucket)
4. ลูกตุ้ม (Cylindrical Hammer)
5. เครื่องกว้านลม(Air Winch)

ซึ่งมีขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. การจัดเครื่องมือเข้าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ
ปรับตั้ง 3 ขา ให้ได้ตรงแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว จึงตอกหลักยึดปรับแท่นเครื่องมือให้แน่น
แล้วใช้กระเช้าเจาะนำเป็นรูลึก (PRE – BORE) ประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร

  

 

ขั้นตอนที่ 2. การตอกปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary CASING)
ลงปลอกเหล็กตรงตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ โดยใช้สามขา (Tripod Rig) และใช้ลูกตุ้มตอกปลอกเหล็กที่มีความยาวท่อนละ 1.20 – 1.50 เมตร
ลงดิน ปลอกเหล็กแต่ละท่อนจะต่อกันด้วยเกลียว ความยาวของปลอกเหล็กโดยรวมต้องเพียงพอที่จะป้องกันชั้นดินอ่อนพัง
ในขณะลงปลอกเหล็กจะทำการตรวจวัดค่าความเบี่ยงเบนไม่ให้เข็มเจาะเอียง โดยปรกติในการปฏิบัติ ค่าความเบี่ยงเบนที่ยอมให้คือ

- ความเบี่ยงเบนแนวราบ 5 เซนติเมตร สำหรับเสาเข็มเดี่ยว 
- ความเบี่ยงเบนแนวราบ 7 เซนติเมตร สำหรับเสาเข็มกลุ่ม 
- ความเบี่ยงเบนแนวดิ่ง 1 : 100

  

 

ขั้นตอนที่ 3. การเจาะและการใส่ Casing
เมื่อตั้ง Tripod เข้าตรงศูนย์เข็มแล้ว ใช้ Bucket เจาะนำเป็นรูลึกประมาณ 1.50 ม.แล้วนำ Casing ซึ่งทำเป็นท่อนๆ ต่อกันด้วยเกลียวตอกลงไปในรูเจาะ
ในแนวดิ่ง จนลึกถึงชั้นดินแข็งปานกลาง (Medium Clay) ที่พอเพียงที่จะป้องกันการพังทลายของชั้นดินอ่อนและน้ำใต้ดินไว้ได้ จากนั้นใช้ Bucket
ขุดเจาะเอาดินออกจนถึงชั้นดินปนทราย ให้ได้ระดับความลึกตามที่ต้องการ

  

 

ขั้นตอนที่ 4.  ลงเหล็กเสริมขนาดและความยาวตามที่กำหนด
ปกติจำนวนเหล็กเสริมมีค่าประมาณ 0.35% – 1.00 % ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม เหล็กเสริมนี้จะใส่ Spacer ที่ทำด้วย Mortar ไว้เป็นระยะ เพื่อช่วยประคอง
โครงเหล็กให้ทรงตัวอยู่ในรูเจาะ โดยมี Covering ไม่น้อยกว่า 7.5 ซม. อยู่โดยรอบเหล็กปลอก โดยทั่วไประยะห่าง ระหว่างเหล็กปลอกจะไม่เกิน 0.20 ม.
ความยาวของการต่อทาบเหล็กในแต่ละท่อนเป็น 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็ก โดยยกให้ปลายเหล็กพ้นจากปลายล่างของหลุมเจาะประมาณ 0.50 ม.

  

 

ขั้นตอนที่ 5. การเทคอนกรีต
การเทคอนกรีตจนเต็มหรือเกือบเต็มหลุมเจาะนี้แม้จะเป็นข้อดี แต่จะกระทำได้สำหรับเสาเข็มเจาะที่เจาะดินไม่ผ่านชั้นทรายชั้นแรกเท่านั้น เพราะหากต้องเจาะผ่าน
ชั้นทรายชั้นแรก จำเป็นต้องลงปลอกเหล็กยาวลงไปกันชั้นทราย การเทคอนกรีตขึ้นมามากเกินไป จะทำให้ไม่สามารถถอนปลอกเหล็กขึ้นได้ เพราะกำลังเครื่องจักร
ไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องทำการเทคอนกรีต และถอนปลอกเหล็กกันดินเป็นช่วงๆ กรณีเช่นนี้ควรคอยตรวจเช็คระดับคอนกรีตภายในปลอกเหล็กตลอดเวลาที่ดำเนินการถอน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่มีการไหลดันของดินและน้ำเข้ามา จนทำให้เสาเข็มคอดหรือขาดจากกัน และคอนกรีตควรควบคุม Slump ให้มีค่าอยู่ระหว่าง 12.50 +/- 2.50 ซม.เนื่องจากงานหล่อคอนกรีตของเสาเข็มเจาะไม่สามารถใช้เครื่องเขย่าหรือเครื่องจี้ได้

  

 

ขั้นตอนที่ 6. การถอดปลอกเหล็กชั่วคราว
จะต้องเทคอนกรีตให้มีระดับสูงกว่าปลอกเหล็กชั่วคราว (CASING) พอสมควรจึงจะเริ่มถอดปลอกเหล็กขึ้น โดยปกติขณะถอดปลอกเหล็กจะต้องให้มีคอนกรีตอยู่ภายในปลอกเหล็กไม่น้อยกว่า 0.50 ม. เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ชั้นดินอ่อนบีบตัว ทำให้ขนาดเสาเข็มเจาะเปลี่ยนไป และเป็นการป้องกันมิน้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาใน
รูเจาะก่อนที่จะทำการถอดปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมด จะเตรียมคอนกรีตให้มีปริมาณเพียงพอ และ จะต้องเผื่อคอนกรีตให้สูงกว่าระดับที่ ต้องการประมาณ 30-40 ซม. เพื่อป้องกันมิให้หัวเข็มในระดับที่ต้องการสกปรก เนื่องจากวัสดุหรือเศษดินร่วงหล่นลงไป ภายหลังจากการถอนปลอกเหล็กออกหมดแล้ว

  

 

ขั้นตอนที่ 7. การทำเสาเข็มต้นต่อไป
เสาเข็มต้นต่อไปต้องอยู่ห่างจากเสาเข็มที่เพิ่งทำแล้วเสร็จ ไม่น้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม หรือใกล้เคียงเสาเข็มต้นเดิมที่ทำแล้วเสร็จไม่น้อยกว่า
24 ชั่วโมง ดังนั้นในการทำเข็มเจาะ ควรมีการวางแผนการเจาะหรือการวาง Sequence ของการเจาะเสาเข็ม เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อเสาเข็มที่เพิ่งจะหล่อเสร็จใหม่ๆ

  

 

เข็มเจาะขั้นตอนที่ 8
บันทึกรายงาน หรือ REPORT เสาเข็ม

บันทึกรายงานการทำเสาเข็มเจาะ
1. หมายเลขบ่งกำกับเสาเข็มแต่ละต้น
2. วันเวลาที่เจาะ ตลอดจนเวลาแล้วเสร็จ เวลาเริ่มเทคอนกรีต เวลาถอนท่อเหล็กชั่วคราวจนแล้วเสร็จ
3. ระดับดิน ระดับตัดหัวเข็ม ระดับความลึกปลายเสาเข็ม ความยาวของท่อเหล็ก ปลอกชั่วคราว
4. ความคลาดเคลื่อนของศูนย์เข็ม และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มในแนวดิ่ง
5. รายละเอียดของชั้นดินที่เจาะลงไป
6. รายงานเหล็กเสริมในเสาเข็ม และปริมาณคอนกรีต
7. อุปสรรที่เกิดขึ้น หรือเหตุผิดปกติต่างๆ
8. ค่าวินิจฉัย สั่งการ ของเจ้าหน้าที่อาคาร, วิศวกรผู้ออกแบบ, ผู้ควบคุมงานของเสาเข็มแต่ละต้น

 

 

ผลงานงานเสาเข็มเจาะ ณ ปัจจุบัน
1. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น วัดกะตะ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต

  

 

2. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างฐานรับเสาสัญญาณโทรศัพท์ Dtac สถานที่ก่อสร้าง บริษัท ภูเก็ตค้าซีเมนต์ จำกัด

    

 

ผลงานที่ผ่านมา ปี 2557
1. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างอาคารเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านใสน้ำเย็น ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

    

 

2. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย 3 ชั้น ถ.ศักดิเดช ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต

 

 

3. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างบ้านพักอาศัย 2 ชั้น ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา

4. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างบ้านพักอาศัย ซ.ประยูร ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

5. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ 3 ชั้น ติดกับโรงแรงฐานทิพย์วิลล่า ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

6. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างอาคาร 6 ชั้น ซ.โคดโตนด ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต

7. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างโรงแรม 7 ชั้น ติดกับเทศบาลเมืองนครภูเก็ต ถ.นริศร ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

8. โครงการงานเสาเข็มเจาะคอนโด ดิปันตัย ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

9. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างอาคารพานิช 8 คูหา ทางเข้าวัดหลางปู่สุภา ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต

10. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างฐานรับเสาสัญญาณโทรศัพท์ แถววัดสว่างอารมณ์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

11. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างฐานรับเสาสัญญาณโทรศัพท์ แถวโคกมะขาม ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

12. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ 4 ชั้น ซ.หล่อโรง ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

13. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกาะแก้ว ม.4 ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต

14. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างอาคารพานิชย์ แถวสนามแบตมินตัน JJ บ้านกู้กู ต.รัษฏา อ.เมือง จ.ภูเก็ต

15. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างบ้านพักอาศัย ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

16. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างบ้านพักอาศัย 2 ชั้น ในตลาดโคกกลอย ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา

17. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างสระว่ายน้ำ ซ.บางหวาน ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

18. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างบ้านพักอาศัย 4 ชั้น(เพิ่มเติม) ปากซอยเจริญทรัพย์ ถ.ราษฎร์อุทิศ 200 ปี ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

19. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างฐานรับเสาสัญญาณโทรศัพท์ AIS แถวเทศบาลเมืองกะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

20. โครงการงานเสาเข็มเจาะก่อสร้างอาคารพานิชย์ แถวอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีย์ฯ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ฯลฯ

Visitors: 37,563