การทดสอบ (Seismic Integrity Test)

 
       >>>>วิธีการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
โดยวิธี  SEISMIC INTEGRITY  TESTING
 
 
                                                                                    
 
 1.ทำการขุดเปิดหัวเสาเข็มและสกัดเนื้อคอนกรีตจนถึงระดับใช้งานและถึงเนื้อคอนกรีตที่ดี 
 2.ใช้น้ำล้างหัวเสาเข็มให้สะอาด 
 4.ทำการติด Accelerometer Sensor (หัววัดสัญญาณ) บนหัวเสาเข็มโดยใช้ดินน้ำมันยึดให้แน่นจากนั้นเคาะด้วยค้อนทดสอบบนรอบๆ หัวเสาเข็มตามตำแหน่งที่ต้องการ ทดสอบ
 5.บันทึกสัญญาณคลื่นความเค้นที่มีผลต่อความบกพร่องของเสาเข็ม อย่างน้อยต้นละ 3 ครั้ง 
 6.นำผลไปวิเคราะห์สภาพความสมบูรณ์ต่อไป
 
                 เครื่องมือทดสอบ
 
 1.Profound SIT-Series (SIT)
 2.Accelerometer Sensor หัววัดสัญญาณคลื่นความเค้น ความไวสูง
 3.SIT-series, software version 7.9*
 4.Hand Held Hammer ค้อนทดสอบน้ำหนักไม่น้อยกว่า 0.50 กก.
 5.อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
                         
                             
  



                  หลักการวิเคราะห์สัญญาณ
        
        การตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม อาศัยการส่งคลื่นความเค้น (Stress Wave) จากหัวเสาเข็มผ่านลงไปถึงปลายเสาเข็ม และ บันทึกคลื่นความเค้นที่สะท้อนกลับมาที่เดิม หากเกิดความไม่ต่อเนื่องของเนื้อคอนกรีตอันเกิดจากรอยแตกร้าวหรือเนื้อคอนกรีตไม่ดี หรือหน้าตัดเสาเข็มมีขนาดเพิ่มขึ้นหรือลดลง คลื่นสัญญาณที่สะท้อนกลับก็จะแสดงผลและถูกบันทึกไว้ด้วยเครื่องมือทดสอบ  การพิจารณาสภาพความสมบูรณ์ของเสาเข็มอาศัยหลักการ ดังนี้
 
         1.พิจารณาสัญญาณที่วิ่งผ่านเนื้อคอนกรีตว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ระยะใด
         2.พิจารณาค่าความเสียหายจากค่าดัชนีความสมบูรณ์ (ฺฺBeta)
 
     >>>>ฺฺฺ       Beta  >  0.90           --------->  สภาพสมบูรณ์
     >>>>ฺฺฺ       0.90 > Beta > 0.80  --------->  สภาพเสียหายเล็กน้อย
     >>>>ฺฺฺ       0.80 > Beta > 0.70  --------->  สภาพเสียหาย
     >>>>ฺฺฺ       0.70 > Beta > 0.60  --------->  สภาพเสียหายมาก
     >>>>ฺฺฺ       Beta  >  0.60           --------->  ไม่สามารถนำไปใช้งานได้
 
                 
            ข้อจำกัดของเครื่องมือทดสอบ
 
  1.สามารถตรวจสอบได้เฉพาะลักษณะทางกายภาพที่เกิดจากรอยคอด รอยแตกร้าว หรือสภาพความสมบูรณ์ ของเนื้อคอนกรีตเท่านั้น ผลการทดสอบไม่ได้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแต่อย่างใด
  2.ตำแหน่งจุดบกพร่องที่สามารถตรวจพบได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน หากมีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องจะไม่สามารถตรวจพบได้
  3.เสาเข็มตอกที่มีการเชื่อมต่อ จะสามารถตรวจได้เฉพาะท่อนบนเท่านั้น เนื่องจากคลื่นสัญญาณไม่สามารถวิ่งผ่านลงไปในเสาเข็มท่อนล่างได้
  4.ต้องทำการทดสอบบนเนื้อคอนกรีตที่ดีเท่านั้น มิฉะนั้นคลื่นสัญญาณจะไม่สามารถวิ่งผ่านเข้าไปในตัวเสาเข็มได้ หรืออาจจะแสดงผลสัญญาณที่ผิดพลาดว่าเสาเข็มไม่สมบูรณ์
  5.เสาเข็มที่มีความยาวมากๆ ค่าแรงเสียดทานที่ผิว (skin Friction) อาจทำให้สัญญาณเปลี่ยนแปลงไปได้
 
 
 
 
Visitors: 37,563