การเจาะสำรวจดิน Soil Invcstigation

 การเจาะสำรวจดิน Soil Invcstigation

     การเจาะสำรวจชั้นดิน ทำเพื่อหาข้อมูลชั้นดินในผังบริเวณก่อสร้างอาคารเพิ่ม เพื่อเป็นแนวทางให้แก่วิศวกรผู้ออกแบบฐานรากและเสาเข็ม เพื่อกำหนดความยาวของเสาเข็มที่เหมาะสม ส่วนจะเจาะสำรวจกี่หลุมนั้นไม่มีมาตรฐานตายตัว เพราะไม่เพียงขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของสิ่งปลูกสร้าง ยังขึ้นกับลักษณะคุณสมบัติและความแปรปรวนของชั้นดิน  โดยสิ่งสำคัญที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตในการเจาะสำรวจชั้นดิน คือ ต้องทำให้ได้ข้อมูลดินที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ รวมทั้งคลอบคลุมข้อกำหนดต่างๆของพื้นที่โครงการนั้นด้วย

 

 

    ผลการเจาะสำรวจดิน 

       >>>>>  โครงการอาคารพักอาศัยรวม 2 ชั้น ( ถนนสวนมะพร้าว-ด่านหยิด ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต) 

   ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ดำเนินการเจาะเก็บตัวอย่างดิน จำนวน 1 จุด ตามหลุมเจาะที่กำหนดไว้ในแผนผังบริเวณ

  2. การเจาะใช้วิธี Wash Boring โดยใช้น้ำโคลนฉีดลงในหลุมเจาะจนถึงระดับที่ต้องการเก็บตัวอย่างดิน

  3. เก็บตัวอย่างดิน โดยในดินเหนียวอ่อน หรือ ดินเหนียวปานกลาง จะเก็บตัวอย่างโดยใช้กระบอกเก็บดินชนิดผนังบาง (Shelby Tube) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ส่วนในชั้นทรายและชั้นดินเหนียวแข็งใช้กระบอกเก็บดินชนิดผ่ากลาง (Split Spoon Sampler)พร้อมกับทดสอบหาค่า (Standard Penetration Resistance) โดยใช้ลูกตุ้มหนัก 140 ปอนด์ ยกสูง 30 นิ้ว ตอกกระบอกให้จมในช่วง 6 นิ้วที่สองและที่ สามรวมกันเรียกว่า Standard Penetration Resistance,N

 ระดับน้ำใต้ดิน  :    ระดับน้ำใต้ดินขณะเจาะสำรวจต่ำจากระดับผิวดินเดิมขณะเจาะทดสอบและจะวัดหลังจากได้ทำการเจาะสำรวจแล้วเสร็จประมาณ 24 ชั่วโมง แต่ระดับน้ำใต้ดินอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามฤดูกาล
    

            ตารางสรุปผลการสำรวจดิน
                     

 

       ผลการเจาะสำรวจดิน

 >>>>>  โครงการออยู่อาศัยรวม 5 ชั้น ( ถนนราษฎร์อุทิศ 200ปี ซอย1 ตำบลป่าตอง อำกะทู้ จังหวัดภูเก็ต) 

       ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1.ได้ดำเนินการเจาะเก็บตัวอย่างดินจำนวน 1 หลุม จนถึงชั้นหินผุ ลึกประมาณ 23 เมตร ที่ตำแหน่งหลุมเจาะ

  2.การเจาะใช้วิธี Wahsed Boring โดยใช้น้ำโคลนฉีดลงในหลุมเจาะจนถึงระดับที่ต้องการเก็บตัวอย่างดิน

  3.จากนั้นเก็บตัวอย่างดินโดยในดินเหนียวอ่อน หรือดินเหนียวปานกลางจะเก็บตัวอย่างด้วยกระบอกเก็บดินชนิดผนังบาง (Shelby Tube) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ส่วนในชั้นทรายและชั้นดินเหนียวแข็ง จะใช้กระบอกเก็บดินชนิดผ่ากลาง (Split Spoon Sampler) พร้อมกับทดสอบหาค่า Standard Penetration Resistance โดยใช้ ลูกตุ้มหนัก 140 ปอนด์ ยกสูง 30 นิ้ว ตอกกระบอกเก็บดิน จำนวนครั้งที่ตอกให้จมในช่วง 6 นิ้วที่สองและสามรวมกันเรียกว่า Standard Penetration Resistance,N

      การวิเคราะห์คุณสมบัติของชั้นดิน

ลักษณะภูมิประเทศบริเวณที่เจาะสำรวจเป็นพื้นที่ราบลุ่มอ่างกะทะระหว่างทะเลกับเนินเขา จากการเจาะทดสอบดินสามารถวิเคราะห์และแบ่งชั้นดินได้เป็น 2 ชั้น ดังนี้

    ชั้นที่1 ชั้นทรายและดินตะกอนอ่อน จากผิวดินลงไปเป็นทรายหลวมสีเทา จนถึงความลึกประมาณ 8.50 เมตรแล้วเปลี่ยนเป็นดินตะกอนอ่อนและดินเหนียวปนทรายสลับกับชั้นทรายจนถึงความลึกประมาณ 21 เมตร ดินมีสีเทา จัดอยู่ใน group symbol SP-SW ,SM-SC,CL-SC มีค่าความแน่นอนอยู่ในช่วง loose&soft to medium หมายถึงเป็นทรายหลวมและดินตะกอนอ่อน และในช่วงความลึกประมาณ 4-5 เมตร เป็นทรายค่อนข้างแน่น

   ชั้นที่2 ชั้นดินปนทรายแข็ง จากความลึกประมาณ21 เมตรลงไปจนสิ้นสุดการเจาะที่ชั้นหินความลึกประมาณ 23 เมตร จะเป็นดินปนทรายหยาบ มีสีเทาอ่อน จัดอยู่ใน group symbol SM-SW มีค่าความแน่นอยู่ในช่วง hard หมายถึงเป็นดินแข็ง

          จากการทดสอบคุณสมบัติของดินพบว่าในดินแรก เป็นทรายหลวมสลับกับดินตะกอนอ่อน มีเสถียรภาพต่ำจึงไม่สมควรใช้ฐานรากแผ่ ควรใช้ฐานรากเสาเข็มโดยให้ปลายเสาเข็มหยั่งอยู่ในชั้นทรายแน่นปานกลางที่ความลึกประมาณ 15-18 เมตร หรือให้หยั่งถึงชั้นดินแข็งที่ความลึกประมาณ 21.50 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงความลึกประมาณ 19-21 เมตร ยังเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนที่อาจจะเกิดการทรุดตัวจากการกดของปลายเสาเข็มที่หยั่งในชั้นทรายที่ความลึก 18 เมตรได้

                              

  

 
 
Visitors: 37,568